4/9/56

วิธีการใช้ Fibonacci

Fibonacci เป็นเครื่องมือเครื่องมือที่ใช้วัดหา แนวรับ –แนวต้านและหาราคาเป้าหมายของราคาในตลาดForex เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้กันมากเพราะ Fibonacci ใช้ง่าย และเป็นพื้นฐานที่เราควรจะรู้
สัดส่วนของ fibonacci ได้แก่ 0 (0%) , 0.236(23.6%) ,0.382(38.2%) ,0.500(50%),0.618(61.8%) , 0.764(76.4%) , 1.00(100%), 1.382(138.2%) , 1.618(161.8%) , 2.618(261.8%) และ 4.236(423.6%) ดังรูปด้านล่าง



เลือก Fibonacci โดยเข้าไปที่ Insert >> Fibonacci >> Retracement แล้วก็เอามาลากบนกราฟ โดย Fibonacci แบบเดิมๆ ที่ให้มากับ Mt4 จะไม่มีราคาติดอยู่ที่ระดับต่างๆของ Fibonacci ดังรูปด้านล่าง
-เมื่อเรามี Fibonacci อยู่บน Chart แล้ว ให้ คลิกขวาที่ Chart เลือก Objects List แล้วเลือก Fibo จากนั้นเลือก Edit
-เมื่อคลิกที่ Edit แล้ว ให้คลิกที่ Fibo Levels จากนั้นให้เติมคำว่า =%ลงไปต่อท้ายที่ช่อง Descriptions ทุกตัว
-เมื่อ ทำเสร็จแล้วจะได้ดังรูป

การใช้ Fibonacci Retracement
1. ใช้เพื่อหาแนวรับแนวต้าน (Support and Resistance)
-หา จุดต่ำสุด(Low) และ หาจุดสูงสุด High ก่อน โดยหาจากยอดคลื่นล่าสุด และ ก้นบึ้งล่าสุด ดังรูป
เมื่อ ราคาได้เคลื่อนตัวลงมาแล้ว ราคาจะขึ้นไปปรับตัวที่ระดับ Fibonacci Retracement 38.2 , 50.0 และ 61.8 เราสามารถใช้ จุดเหล่านี้เป็นแนวต้านของราคาได้ ถ้าราคาไม่สามารถผ่านแนวต้าน (resistance ) นี้ได้ ราคาก็จะปรับตัวลงต่อ และมาทดสอบที่ Low เดิม แต่ถ้าสามารถผ่าน แนวต้านนี้ได้ ราคาก็จะกลับไปทดสอบ High เดิม เช่นเดียวกัน
2.ใช้ Fibonacci Retracement เพื่อหาราคาเป้าหมาย (Target price )
-ทุกๆ ครั้งที่เราทำการเข้าเทรด เมื่อเข้าไปแล้ว เราก็ต้องหาราคาเป้าหมาย ว่ามันควรจะไปถึงไหน ซึ่ง Fibonacci Retracement สามารถบอกเราได้ ว่ามันควรจะไปแค่ไหน แต่จงจำไว้นะครับ ว่าทุกอย่างเป็นเพียงแค่การคาดการณ์ ไม่ได้ตรงแปะเสมอไป 
จาก รูปด้านบน จะเห็นว่า ราคาสวิงขึ้นจาก Low ไปที่ High แล้วราคามีการปรับตัวลงมา ตำแหน่งที่ปรับฐาน หรือ แนวรับ ที่เราควรจะสังเกตก็คือ ที่ระดับ Fibonacci Retracement 61.8 , 50.0 และ 38.2 จากรูปด้านบนจะเห็นว่าราคาไม่สามารถผ่าน 50.0 ไปได้ หรือบางครั้งเราอาจจะเรียกตำแหน่งนี้ว่า Pivot Point เมื่อราคาดีดตัว ตรงนี้ เราก็คาดการณ์ได้เลย ว่ามันต้องขึ้นแน่ๆ ก็ เปิด Long (Buy) ได้เลย แล้ว ตั้ง TARGET ไว้ที่ Fibonacci Retracement 161.8

13/1/56

EUR/USD 14/01/2013

EUR/USD Daily หลังจากสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนตลาดปิด ราคาปรับลดลงมา 1.3268 แล้วกลับขึ้นไปปิดตลาดที่ระดับ 1.3290 ซึ่งจากแนวโน้มน่าจะปรับตัวลงมาแถวๆ ระดับ 1.3185 ถ้าแบ่งตามแนวที่ 50% แล้วถ้าแรงซื้อกลับมา แนวดน้มปรับตัวขึ้นไปสูงกว่าระดับ 1.3290 ซึ่งการคาดการณ์เป้าหมายราคาอาจจะไปได้ถึง 1.3435 เป็นจุดสูงสุด (ตามรูป)
มองในรูปแบบเทรนเดือน

29/11/55

EUR/USD 29-11-2012

EUR/USD 29-11-2012

29/10/55

EUR/USD, GOLD 29/10/2012

EUR/USD
ราคาอยู่ต่ำกว่าแนวต้าน 1.3000 และอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย MA 55 ที่ H1 และ H4 ชั่วโมง แนวโน้มแกว่งตัว Sideways โดยมีแนวต้านแรกอยู่ที่ 1.3020 และ 1.3080 ส่วนแนวรับแรกอยู่ที่ 1.2950 และ 1.2900 GOLD
ราคาไม่สามารถผ่านแนวต้านที่ 1,717 ขึ้นไปได้ แม้สัญญาณทางเทคนิค MACD ที่ H1 และ H4 ชั่วโมงเกิดสัญญาณ Divergence ก็ตาม ราคายังอยู่ในช่วงปรับฐานในกรอบ 1700-1760 ก่อนขึ้นต่อ โดยแนวต้านแรกอยู่ที่ 1,715 และ 1,730 ส่วนแนวรับแรกอยู่ที่ 1,700 และ 1,693

21/7/55

เทรดแบบ Scalping Pattern

เทรดแบบ Scalping Pattern (เทรดสั้น)

         การ Scalping  เป็นการเทรด โดยการเปิดและปิดการซื้อขายในช่วงสั้นๆ โดยจะปิดทำกำไรเพียงไม่กี่จุด (ส่วนมากจะมีระยะราวๆ 5-20 จุด) โดยมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ แต่รูปแบบที่นำเสนอนี้ เป็นเพียง หนึ่งในหลายรูปแบบที่เทรดเดอร์นิยมใช้กัน และเป็นรูปแบบที่ผมนิยมใช้ร่วมกับระบบการเทรดของผมเอง 
         
รูปแบบนี้เรียกง่ายๆว่า Flag (แบบธง)     เป็นการ Scalping  ในรูปแบบที่อาศัยการกลับตัวหรือพักตัวของราคาเป็นช่วงๆ ซึ่งส่วนมากจะเกิดในช่วงที่ตลาดมีการซื้อขายจำนวนมากๆเสร็จแล้ว หรืออยู่ในช่วงรอข่าวสำคัญๆ โดยตลาดช่วงนั้นต้องค่อนข้างราบเรียบไม่รุนแรง ซึ่งกราฟมีรูปแบบที่เป็นแท่งเรียงกัน การเทรดช่วงนี้ไม่อันตรายมากเหมือนตอนช่วงตลาดมีความผันผวนสูง การเทรด  Scalping ในแบบนี้ จะไม่คาดหวังกับผลกำไรมากโดยเน้นการสะสมทีละน้อย และเป็นการเทรดในมุมมองของคนเล่นตามเทรน โดยต้องใจเย็นและสังเกตตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยรูปแบบนี้เป็นเพียงรูปแบบ หนึ่งในหลายๆอย่าง ที่เทรดเดอร์แต่ละคนจะเลือกใช้ตามความถนัดของตน.

           
           ยกตัวอย่าง ในกราฟ M15 ค่าเงิน  USD/CHF  ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้เห็น เทรนหลักในกราฟชั่วโมงแล้ว โดยในกราฟ M15 นี้ถูกแทรกโดย flag ที่เราทำการ ไฮไลท์ไว้ แม้ว่ารูปแบบจะไม่สมบูรณ์มาก แต่ว่ามันก็เป็นรูปแบบที่ต่อเนื่องใช้ได้ และค่อนข้างเรียบ ซึ่งเราสามารถใช้ทดสอบทักษะของเราได้ ตาม flag สามอันที่ได้ไฮไลท์ในกราฟนี้ ใน Pattern ล่างสุดจะเป็นอันที่ค่อนข้างง่ายที่สุด เพราะราคาเคลื่อนไหวขึ้นลง ในระยะดังกล่าว และไม่มีทิศทางใดทางหนึ่งเกิดขึ้นแน่ชัดในช่วงนั้นๆ
         
           จะเทรดในสถานการณ์นี้อย่างไร ? ในกรณีนี้เราให้ flag เป็นช่วงการเคลื่อนไหวของราคาขึ้นลง ซึ่งสามารถใช้บอกจุดเข้าออกได้ในทิศทางกลับด้านกันของออร์เดอร์ ของเรา เมื่อราคาขึ้น และใกล้ขอบบน เราจะไม่เทรดแต่ว่าเราจะรอจนกว่ามันจะกลับตัว และก่อนที่จะส่งออเดอร์ Sell เราต้องสังเกตว่าจะเกิดการ Break out หรือไม่ โดยดูที่ความลื่นไหลของราคา ถ้ามีการสะดุดหรือแกว่ง ให้รอก่อน หลังจากนั้นเราจะเข้าและออกให้เร็วก่อนถึงระยะสุดของ Pattern และ เมื่อราคาลงและแตะเส้นข้างล่าง ของ pattern เราจะต้องรอมันขึ้นมาก่อน เพื่อป้องกันการพังทลายของแนวรับ จากนั้นเราจะค่อยเข้าออเดอร์  Buy อีกครั้งทันที และปิดออเดอร์ก่อนราคาจะขึ้นสุดแนวในรูปแบบเดิม
       
            การเทรดรูปแบบนี้ นั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่ที่สำคัญคือ flag นั้นจะต้องแสดงรูปแบบชัดเจน และเราต้องระวังไม่ให้เกิด Break out และโมเมนตั้ม โน้มเอียงของราคาไปตามเทรนหลัก
       
           โดยอาจเพิ่มการเทรดโดยใช้รูปแบบสามเหลี่ยมควบคู่ไปด้วยได้เช่นเดียวกัน และ พยายามผสมผสานรูปแบบอื่นๆ เข้ามาใช้เทรดในช่วงการแกว่งตัวตามของราคาตลาด ที่สำคัญคือเราต้องควบคุมความเสี่ยงโดยต้องมีการตั้ง Stop Loss และกำหนดระยะเวลาที่จะเทรดและการถือครองออเดอร์