10/3/55
บทความการลงทุน
เปิดสิ่งใหม่ๆ ธรรมชาติเกร็ดความรู้ มุมมองนักลงทุนต่างๆ แล้วมาเล่าให้ฟัง
หลายๆ คนคงอาจจะไม่เคย สังเกตุ วัฐจักร(cycle)ตลาด จาก อดีต--->สู่ปัจจุบัน แปลกที่ทำไมบางครั้ง เดือนนั่นๆวิ่งดีมาตลอด(มีแนวโน้ม) เดือนนี้วิ่งแย่มาตลอด(เกิด sideway) ตลาดเปลื่อนแปลงไปหมด
ตลาด forex เปลื่อนธรรมชาติ จากอดีต ย้อนไป 3-5 ปี ก่อนนี้ ค่าเงินคู่หลัก E/u G/u เคยวิ่งตามตามกันอย่างกับเพื่อนรัก นักลงทุนก็จะรู้ทันที u/ch u/j จะต้องวิ่งสวนตรงข้ามกันทันที แต่ปัจจุบันธรรมชาติ
ค่าเงินเปลื่อนไปหมด ค่าเงินแต่ละคู่ กลายเป็นการขึ้นกับตัวเอง(ไม่ไปตามกันเป็นขบวนหลายๆค่าเงิน) หลักการจับว่า ตัวนี้ ขึ้น อีกตัวต้องตรงข้าม กลับกลายเป็นใช้ไม่ได้ผล เมื่อเรารู้ว่าธรรมชาติเปลื่อนเราก็ต้องปรับตัวให้ทันสมัยเหมือนธรรมชาติของ ตลาดปัจจุบัน
แล้วหลักการ หนึ่งเดือน มี 4 สัปดาห์ มักจะเล่นง่ายกลางเดือนไปแล้วเริ่มเปลื่อน ปัจจุบันกลายเป็นเล่นง่ายช่วงปลายเดือนถึงต้นเดือน จาก 1 สัปดาห์ กราฟเล่นง่ายอย่างน้อย 3 วันไม่โยกเป็นเป็นฟันปลากลับกลายเป็นใน 1 สัปดาห์เล่น ง่ายแค่ วันถึงสองวัน
อดีตค่าเงินสกุลหลักๆ e/u g/u u/ch e/j เคยวิ่งต่ำๆ ระดับ 60-120 จุด เสมอๆแม้แต่ g/u บางวันวิ่งถึง 200 จุด มาถึงปัจจุบันธรรมชาติเปลื่อนไปหมดแล้ววิ่งน้อยลงไปเยอะมาก เฉลี่ย 25-100 จุด ต่อวัน
เมื่อนิสัยธรรมชาติเปลื่อนเราก็ต้องปรับรูปแบบตามธรรมชาติ
รูป1 กราฟ วัน ของ e/u มองจาก อดีตมาสู่ปัจจุบัน
รูป 1.1 และ 1.2 เปรียบเทียบและความยากง่ายในรอบสัปดาห์
รูป 1.3 และ 1.4 เปรียบเทียบ การกินเวลานานๆของช่วง สวิง และการเกิดแนวโน้มมักจะใช้เวลาไม่นาน
จะเห็นว่าการสังเกตุตลาดทำให้มองเห็นว่า นักลงทุนกำลังทำอะไร
สิ่ง ที่มองเห็นเลยคือ ช่วงเวลา มักเกิดเป็น รอบๆเสมอ ไม่ว่าจะมีแนวโน้มหรือช่วง sideway เกิดและดับ เกิดดับๆ จบเป็นรอบไป เกิดขึ้นตั้งอยู่จนหมดรอบ(ดับไป)แล้วเกิดขึ้นใหม่ เสมอๆ
ช่วงกรอบแคบๆ หรือช่วง sideway บอกได้ถึง นักลงทุนย้ายเงินลงทุนไปตลาดไหน(อันนี้ต้องติดตามข่าว มองมุมกว้างเพื่อรู้การเปลื่อนแปลงของตลาด) สาเหตุที่เกิดกับตลาดช่วงนี้ คือ เม็ดเงินในตลาดน้อย นักลงทุนจึงหนีไปลงทุนตลาดอื่น ก็บอกได้ถึงการมาเป็นรอบๆและไปเป็นรอบๆ
สังเกตุเห็นระดับของความนานไม่ไป ไหน sideway(ช่วงมีของติดมือและมักจะขาดทุน) และระดับความง่ายของแนวโน้ม(ช่วงทำกำไร)มักใช้เวลาเร็วและสั้น แสดงว่า ตลาดให้บทสรุปแล้วว่า ความยากมักใช้เวลายาวนานเพื่อหลอกนักลงทุนให้เล่นถี่ๆแต่เมื่อตลาดง่ายจะใช้ เวลาไม่นานเพื่อในนักลงทุนติดใจ
ส่งท้ายด้วย Jesse Livermore นักเก็งกำไรบันลือโลก
โดย โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
bangkokbiznews
ในโลกของ Value Investor นั้น ทุกคนรู้จักและนับถือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ว่าเป็นนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
แต่ ในโลกของนักเก็งกำไรนั้น ชื่อของ Jesse Livermore ได้ รับการยอมรับว่าเป็นตำนานของนักเก็งกำไรที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งเคียงบ่าเคียง ไหล่กับคนอย่าง Bernard Baruch และ Gerald Loeb ว่าที่จริง บางคนบอกว่าเขาเป็นนักเก็งกำไรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ฉายาของเขาคือ "หมีใหญ่แห่งวอลล์สตรีท" เพราะเขาชอบเก็งกำไรโดยเฉพาะในช่วงตลาด "ขาลง" นั่นคือ เขาจะชอร์ตหุ้นและ/หรือสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดล่วงหน้า ชีวิตและหลักการเก็งกำไรของ ลิเวอร์มอร์นั้นน่าสนใจไม่เฉพาะแต่นักเก็งกำไร Value Investor ก็ควรจะรู้ไว้
ลิเวอร์มอร์ หรือที่คนชอบเรียกเขาว่า J.L. เกิดในครอบครัวชาวไร่ที่ยากจน เขาเรียนจบแค่มัธยมและต้องออกมาทำงานตั้งแต่อายุ 14 ปี งานแรกและน่าจะเรียกว่าเป็นงานแบบเดียวในชีวิตก็คือ เป็นเด็ก "เคาะกระดานหุ้น" หลังจากนั้นเพียงปีเดียว เขาก็เริ่ม "เล่นหุ้น" แต่เนื่องจากมีเงินน้อย เขาจึงเริ่มเล่นตาม "ห้องค้าเถื่อน" ที่รับ "แทงหุ้น" โดยอิงกับราคาหุ้นบนกระดาน เขาเล่นเก่งมากและทำกำไร จนทำให้ห้องค้าเถื่อนเกือบทุกแห่ง "แบล็กลิสต์" ไม่ให้เขาเข้าเล่นในห้องค้า ในที่สุดเขาก็เข้าสู่ตลาดหุ้นและเริ่มชีวิตของนักเก็งกำไรเต็มตัว
J.L. ทำเงินจากตลาดหุ้นได้มากและ "เจ๊ง" หมดตัวถึงสองครั้งก่อนที่จะกลายเป็น "ซูเปอร์สตาร์" หลังเหตุการณ์วิกฤติตลาดหุ้นในปี 1907 เหตุการณ์หุ้นถล่มทลายในครั้งนั้น J.L. ได้ขายหุ้นชอร์ตไว้จำนวนมาก ยิ่งหุ้นตก เขาก็ยิ่งขาย และทำให้หุ้นตกลงไปอีก การขายหุ้นชอร์ตของเขาทำได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเมื่อหุ้นตก พอร์ตเขาก็ได้กำไร ซึ่งก็จะทำให้เขามีวงเงินใช้มาร์จินเพิ่มขึ้นอีก เขาขายชอร์ตมากเสียจนทำให้ J. P. Morgan ประธานบริษัทหลักทรัพย์ยักษ์ใหญ่ และเป็น "จ้าวพ่อตลาดหุ้น" ในช่วงนั้นต้องออกมาขอให้เขาหยุดขาย เพราะมิฉะนั้น ตลาดหลักทรัพย์อาจจะต้อง "ล่มสลาย" เนื่องจากสถาบันการเงินต่างก็ขาดสภาพคล่องอันเป็นผลจากการที่หุ้นตกลงมา อย่างหนัก
หลังจากเหตุการณ์วิกฤติตลาดหุ้นปี 1907 J.L. ก็ร่ำรวยและกลายเป็น "เซเลบ" เขาใช้ชีวิตหรูหราสุดๆ เขาซื้อเรือยอชท์หรูหราไว้ใช้ท่องเที่ยวและจับปลาในทะเล ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่เขารัก เขาจีบและแต่งงานกับผู้หญิงโดยใช้ชีวิตแบบ "เพลย์บอย" เขาคบกับคนชั้นสูงเช่น Alfred Sloan ประธานบริษัท General Motor ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกในยุคนั้น Walter Chrysler แห่งบริษัทรถยนต์ใหญ่ Chrysler และดาราตลกดังอย่าง ชาร์ลี แชปลิน เป็นต้น
วิกฤติตลาดหุ้น ปี 1929 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ J.L. ทำกำไรได้มากมายจากการชอร์ตหุ้นในตลาด เขาผ่านวิกฤติมาพร้อมกับเงินนับ 100 ล้านดอลลาร์ และนี่เป็นความรุ่งโรจน์ครั้งสุดท้ายของชีวิตเขา เพราะหลังจากนั้นเขาก็เริ่มตกต่ำลงเรื่อยๆ ทั้งชีวิตการเก็งกำไรและชีวิตส่วนตัว
ในชีวิตของการเก็งกำไรนั้น เขาเคยล้มละลายมา 2 ครั้งและสามารถฟื้นขึ้นมาได้ แต่ในครั้งนี้ เขา "หมดตัว" มีหนี้มากกว่าทรัพย์สิน ในชีวิตส่วนตัวนั้น เขาเคยมีภรรยาหลายคน แต่ละคนใช้เงินที่เขาได้กำไรมาอย่างฟุ่มเฟือยเช่นเดียวกับตัวเขา ภรรยาคนหนึ่งมีเรื่องขนาดยิงลูกตัวเองเกือบเสียชีวิต ตัว J.L. เองนั้น เขามีปัญหาและน่าจะเป็นโรคซึมเศร้า เขายิงตัวตายในวันที่ 28 พฤศจิกายน 1940 สิริอายุ 63 ปี
กฎและกลยุทธ์การเก็งกำไรของ J.L. นั้นสามารถสรุปอย่างย่อๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. อย่าขาดทุน นักเก็งกำไรที่ไม่มีเงินก็เหมือนกับเจ้าของร้านที่ไม่มีสินค้าอยู่ในสต็อก ดังนั้นถ้าคุณไม่มีเงิน คุณก็จะไม่มีธุรกิจ เก็งกำไรไม่ได้ J.L. บอกว่าการซื้อหุ้นเต็มจำนวนในคราวเดียวที่ราคาเดียวนั้นอันตราย คุณควรทยอยซื้อเมื่อแน่ใจว่าสิ่งที่คิดไว้ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการซื้อ 1000 หุ้น คุณควรจะเริ่มที่ 200 หุ้น ซื้อแล้วดูว่าราคาขึ้นหรือไม่ ถ้าใช่ ทยอยซื้อเพิ่มอีก 200 หุ้น แล้วก็รอดูว่าขึ้นไหม ถ้าใช่ก็ซื้ออีก 200 หุ้น และถ้าขึ้นอีก คราวนี้ให้ซื้อไปอีก 400 หุ้นจนเต็ม 1000 หุ้น สรุปก็คือ ทยอยซื้อเมื่อราคาขึ้น ห้ามซื้อเฉลี่ยเมื่อหุ้นลง
2. กำหนดจุดตัดขาดทุน ถ้าซื้อหุ้นแล้วขาดทุน ต้องกำหนดว่าจะยอมขาดทุนได้ไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ สำหรับเขาจะไม่ยอมให้ขาดทุนเกิน 10% เพราะเขาคิดว่าเวลาขาดทุนนั้น การจะเอาทุนคืนได้จะต้องกำไรมากกว่าเปอร์เซ็นต์ที่ขาดทุนจึงจะเสมอตัว เช่น ถ้าขาดทุน 50% กว่าจะคืนทุนก็ต้องกำไร 100% อีกอย่างก็คือ ถ้าซื้อแล้วหุ้นลงแสดงว่าสิ่งที่คุณคิดไว้คงผิด อย่าไปฝืนกระแส ตัดขาดทุนเสียแล้วไปเล่นตัวใหม่เมื่อเห็นโอกาส
3. จะต้องมีเงินสดสำรองเสมอ เงินสดนี้จะมีความสำคัญมากเมื่อถึงจุดที่โอกาสในการเก็งกำไรเปิด และเมื่อมีโอกาสดี เราก็จะต้อง "อัด" หรือลงเงินให้เต็มที่ J.L. เชื่อว่าคุณไม่จำเป็นต้องลงทุนตลอดเวลาและไม่ควรลงตลอดเวลา จะเล่นต่อเมื่อมีโอกาสเท่านั้น
4. อย่ารีบทำกำไร หรือ Let Profit Run นั่นคือ ถ้าหุ้นยังวิ่งไปเรื่อยๆ อย่ารีบขายเสียก่อน ตรงกันข้าม ถ้าซื้อหุ้นแล้วขาดทุน หุ้นตกลงไปเร็ว อย่ารอหรือพยายามหาเหตุผลที่มันตก ต้องรีบขายทันที เขาบอกว่า "กำไรดูแลตัวมันเองได้ แต่ขาดทุนไม่เคย" อย่างไรก็ตาม การ Let Profit Run ไม่ได้แปลว่าซื้อแล้วถือแบบนักลงทุน เมื่อถึงจุดหนึ่งก็ต้องขาย
5. เมื่อได้กำไรต้องเก็บเป็นเงินสด เช่น ถ้าได้กำไรมาร้อยดอลลาร์ ก็ต้องเก็บเป็นเงินสดไว้ในแบงก์ 50 ดอลลาร์ อย่าจมอยู่ในหุ้นหรือไปเล่นต่อทั้งหมด นี่ก็เหมือนกับเวลาเล่นไพ่ ถ้าได้กำไรก็เก็บเงินเข้ากระเป๋าเอาทุนคืนมาก่อน และนี่ก็เป็นกฎที่ J.L. บอกว่าตนเองผิดพลาดที่ไม่ได้ทำเท่าที่ควร ทำให้เงินที่ได้มามากๆ ในที่สุดก็เสียคืนกลับไปหมด และทั้งหมดนั้นก็คือชีวิตและหลักการเก็งกำไรของ ลิเวอร์มอร์ แบบย่อที่สุด ในช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู่นั้น ชื่อของเขาดูเหมือนจะร้อนแรงและเป็นที่กล่าวขวัญถึงเสมอแม้ว่าโดยธรรมชาติ ของเขาแล้ว เขาเป็นคนที่เก็บตัวและทำตัวลึกลับ
การใช้ชีวิตและแนว ความคิดในการลงทุนของ J.L. นั้น Value Investor หลายคนอาจจะไม่เห็นด้วยและไม่เชื่อว่ามันเป็นหลักการที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม การศึกษาทำความเข้าใจนั้น ผมคิดว่ามีประโยชน์ไม่น้อย เหนือสิ่งอื่นใด VI กับนักเก็งกำไรนั้น ต่างก็เล่นอยู่ในตลาดเดียวกัน บางครั้งก็เล่นหุ้นตัวเดียวกัน เส้นแบ่งระหว่างนักเก็งกำไรกับ VI นั้น บางทีก็บางมากจนในบางครั้งเราก็อาจจะไม่รู้เหมือนกันว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้น เราเก็งกำไรหรือลงทุนกันแน่
** ขอโทษที่ไม่ลงเครดิต จำไม่ได้จริงๆว่าได้มาจากที่ไหน ใครรู้ช่วยแจ้งด้วยนะครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น