31/7/55

EUR/USD, GOLD 31/07/12

EUR/USD, GOLD  31/07/12

EUR/USD

GOLD

21/7/55

เทรดแบบ Scalping Pattern

เทรดแบบ Scalping Pattern (เทรดสั้น)

         การ Scalping  เป็นการเทรด โดยการเปิดและปิดการซื้อขายในช่วงสั้นๆ โดยจะปิดทำกำไรเพียงไม่กี่จุด (ส่วนมากจะมีระยะราวๆ 5-20 จุด) โดยมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ แต่รูปแบบที่นำเสนอนี้ เป็นเพียง หนึ่งในหลายรูปแบบที่เทรดเดอร์นิยมใช้กัน และเป็นรูปแบบที่ผมนิยมใช้ร่วมกับระบบการเทรดของผมเอง 
         
รูปแบบนี้เรียกง่ายๆว่า Flag (แบบธง)     เป็นการ Scalping  ในรูปแบบที่อาศัยการกลับตัวหรือพักตัวของราคาเป็นช่วงๆ ซึ่งส่วนมากจะเกิดในช่วงที่ตลาดมีการซื้อขายจำนวนมากๆเสร็จแล้ว หรืออยู่ในช่วงรอข่าวสำคัญๆ โดยตลาดช่วงนั้นต้องค่อนข้างราบเรียบไม่รุนแรง ซึ่งกราฟมีรูปแบบที่เป็นแท่งเรียงกัน การเทรดช่วงนี้ไม่อันตรายมากเหมือนตอนช่วงตลาดมีความผันผวนสูง การเทรด  Scalping ในแบบนี้ จะไม่คาดหวังกับผลกำไรมากโดยเน้นการสะสมทีละน้อย และเป็นการเทรดในมุมมองของคนเล่นตามเทรน โดยต้องใจเย็นและสังเกตตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยรูปแบบนี้เป็นเพียงรูปแบบ หนึ่งในหลายๆอย่าง ที่เทรดเดอร์แต่ละคนจะเลือกใช้ตามความถนัดของตน.

           
           ยกตัวอย่าง ในกราฟ M15 ค่าเงิน  USD/CHF  ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้เห็น เทรนหลักในกราฟชั่วโมงแล้ว โดยในกราฟ M15 นี้ถูกแทรกโดย flag ที่เราทำการ ไฮไลท์ไว้ แม้ว่ารูปแบบจะไม่สมบูรณ์มาก แต่ว่ามันก็เป็นรูปแบบที่ต่อเนื่องใช้ได้ และค่อนข้างเรียบ ซึ่งเราสามารถใช้ทดสอบทักษะของเราได้ ตาม flag สามอันที่ได้ไฮไลท์ในกราฟนี้ ใน Pattern ล่างสุดจะเป็นอันที่ค่อนข้างง่ายที่สุด เพราะราคาเคลื่อนไหวขึ้นลง ในระยะดังกล่าว และไม่มีทิศทางใดทางหนึ่งเกิดขึ้นแน่ชัดในช่วงนั้นๆ
         
           จะเทรดในสถานการณ์นี้อย่างไร ? ในกรณีนี้เราให้ flag เป็นช่วงการเคลื่อนไหวของราคาขึ้นลง ซึ่งสามารถใช้บอกจุดเข้าออกได้ในทิศทางกลับด้านกันของออร์เดอร์ ของเรา เมื่อราคาขึ้น และใกล้ขอบบน เราจะไม่เทรดแต่ว่าเราจะรอจนกว่ามันจะกลับตัว และก่อนที่จะส่งออเดอร์ Sell เราต้องสังเกตว่าจะเกิดการ Break out หรือไม่ โดยดูที่ความลื่นไหลของราคา ถ้ามีการสะดุดหรือแกว่ง ให้รอก่อน หลังจากนั้นเราจะเข้าและออกให้เร็วก่อนถึงระยะสุดของ Pattern และ เมื่อราคาลงและแตะเส้นข้างล่าง ของ pattern เราจะต้องรอมันขึ้นมาก่อน เพื่อป้องกันการพังทลายของแนวรับ จากนั้นเราจะค่อยเข้าออเดอร์  Buy อีกครั้งทันที และปิดออเดอร์ก่อนราคาจะขึ้นสุดแนวในรูปแบบเดิม
       
            การเทรดรูปแบบนี้ นั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่ที่สำคัญคือ flag นั้นจะต้องแสดงรูปแบบชัดเจน และเราต้องระวังไม่ให้เกิด Break out และโมเมนตั้ม โน้มเอียงของราคาไปตามเทรนหลัก
       
           โดยอาจเพิ่มการเทรดโดยใช้รูปแบบสามเหลี่ยมควบคู่ไปด้วยได้เช่นเดียวกัน และ พยายามผสมผสานรูปแบบอื่นๆ เข้ามาใช้เทรดในช่วงการแกว่งตัวตามของราคาตลาด ที่สำคัญคือเราต้องควบคุมความเสี่ยงโดยต้องมีการตั้ง Stop Loss และกำหนดระยะเวลาที่จะเทรดและการถือครองออเดอร์



14/7/55

EUR/USD, GOLD 14-07-12

EUR/USD, GOLD 14-07-12

EUR/USD


GOLD

13/7/55

GOLD 13-07-12

GOLD 13-07-12

แนวโน้มราคาทองคำก่อนปิดตลาดสัปดาห์นี้ คาดการณ์ว่าจะปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องอันเนื่องจาก ค่าเงิน EUR ที่อ่อนค่าลงมาตลอดสัปดาห์





3/7/55

EUR/USD เปิดออเดอร์แก้เซ็ง

จิ้มมันละ ฮาาาา  ถ้าไม่หล่นลงมาชน S/L ก่อนล่ะก็ ราคาน่าจะขึ้นได้อีก


Leverage & Margin

Leverage & Margin

ก่อนที่เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า สองค่านี้ มีความสำพันธ์กันอย่างไร เรามารู้จักค่าพวกนี้กันก่อนเลย

Leverage (เลเวอเรจ) 

Leverage คือ เปอร์เซ็นส่วนต่าง ของการลงทุนซื้อขาย ซึ่งจะมีรูปแบบ เป็นค่าคงที่สองค่า อ้างอิงกันโดยใช้เครื่องหมาย : ( ต่อ ) เช่น  n : n ( * n คือค่าคงที่)
       
            ค่า Leverage ที่ใช้ในการเทรด Forex เช่น  1:1 , 1:10 , 1:100 , 1:200 ไปจนถึง 1:1000 ค่าเหล่านี้กำหนดโดยโบรคเกอร์ ซึ่งจะเปรียบได้กับการให้ยืมเงินลงทุนส่วนนึง เพื่อให้นำมารวมกับเงินของเราแล้ว มีมูลค่าเพียงพอที่จะซื้อขายในตลาดได้ (ถ้าไม่มีค่านี เราจะต้องซื้อในราคาเต็ม ซึ่งจะใช้เงินทุนที่สูงมาก เพื่อทำกำไร) ซึ่งอัตราการให้ยืมของโบรคเกอร์นั้น สูงถึง 99% ซึ่งหมายความว่า เราใช้เงินเพียง 1% ในการซื้อขาย แต่ละครั้ง เช่น เราต้องการซื้อขายครั้งนี้ จำนวน $1000 คุณจะใช้เงินที่ลงทุนจริงๆคือ $10 เท่านั้น ถ้ายังไม่เข้าใจลองดูตัวอย่างนี้นะครับ
   
             ยกตัวอย่าง ผมต้องการซื้อเงิน EUR ที่อัตราแลกเปลี่ยน ปัจจุบัน EUR/USD = 1.2550 โดยผมต้องการซื้อ เป็นเงิน $100 แต่ผมจะใช้เงินของผมเพียง $1 ถ้าบัญชีของผมมีค่า Leverage 1:100 โดยที่เหลืออีก $99 เราจะยืมจากทางโบรคเกอร์ ในการซื้อครั้งนี้ ผมจะได้เงิน EUR ทั้งสิ้น 79.68 Euro หลังจากผมซื้อแล้ว อัตราแลกเปลี่ยน EUR/USD มีการปรับตัวขึ้นไปที่  EUR/USD = 1.2600 ลักษณะนี้ ถ้าผมตัดสินใจขาย Euro ที่ผมซื้อไว้ ผมจะได้กำไร จำนวน 50 จุด (นับตามทศนิยมตำแหน่งที่ 4) กำไรของผมจากการขายในครั้งนี้คือ 79.68 x 1.2600 = $100.39 แต่ทางโบรคจะหักเงินที่เรายืมไปคืนซึ่งในที่นี้คือ $99 ดังนั้น จึงเหลือเพียง $1.39 โดยเราลงทุนเองไป $1 ผลกำไรสุทธิจากการซื้อขายครั้งนี้คือ $0.39 แต่เนื่องจากปัจจุบัน โบรคเกอร์ที่เราเทรดนั้น ได้กำหนดการซื้อขายที่  1 จุด = $0.01 ถ้าเราซื้อที่ $1 ดังนั้นผลกำไรจากการขายครั้งนี้คือ $0.50 (กำไร 50 จุด)
                     
                                    พอเข้าใจเกี่ยวกับ ค่า Leverage ขึ้นบ้างไหมครับ



Margin (มาจิ้น)       

         เมื่อเอ่ยถึงค่านี้ เราจะได้เจอค่าอีกหลายตัวที่มักจะอยู่ด้วยกัน เช่น Lot , Leverage , Use Margin และ Stock เรามาดูกันว่าค่าเหล่านี้คืออะไรและมันสัมพันธ์กันอย่างไร

Use Margin คือ เงินส่วนของเราที่ใช้ทำการซื้อขาย
Lot ปริมาณรวมการซื้อขายใน 1 ครั้ง
Stock คือ มูลค่าการซื้อขายขั้นต่ำแต่ละครั้ง(เป็นจำนวนเงินเต็ม)
Margin Call คือการแจ้งเตือนกรณี เงินที่ใช้ซื้อขายมีคงเหลือ ไม่เพียงพอ กับการซื้อขายรอบนั้นๆ (แต่ละโบรคเกอร์ค่าจะไม่เท่ากัน) โดยหลังจากแจ้งเตือนแล้ว หากเราไม่ทำการเพิ่มเงินในบัญชีนั้นๆให้เพียงพอ จนทำให้ จำนวนเงินคงเหลือ หรือค่า Margin Level ติดลบไปถึงค่า Stop Out บัญชีนั้นจะถูกปิดโดยทันที

            ยกตัวอย่างสมมุติบัญชีของเรามีค่า Leverage 1:100 ถ้าเราต้องการเทรด 1 Lot คุณจะต้องมี Use Margin $1000 ซึ่งหมายความว่าคุณต้องมีเงินทุนในบัญชีมากกว่า $1000 ถึงจะทำการซื้อขายได้


1/7/55

ECB กับมาตรการ (LTRO)

ECB Long-term refinancing operations (LTRO)

   ECB ออกมาตรการ Long-term refinancing operations (LTRO) รอบใหม่ที่ให้เงินธนาคารในยุโรปยืมแบบเกือบจะฟรี (เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ)เรียกว่าเป็นการอัดฉีดสภาพคล่องไปในระบบแบบขนานใหญ่ เหมือน quantitative easing (QE) ในฝั่งอเมริกา แต่ข้อแตกต่างคือการอัดฉีดผ่านภาคธนาคารโดยตรง ธนาคารหลายๆ แห่งก็ใช้เงินฟรีๆ นี้ไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อกินส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย จนอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรเหล่านี้ลดลงไปเยอะทีเดียว

European Stability Mechanism (ESM)

  การจัดตั้งกลไกถาวรในการบริหารเศรษฐกิจ การจัดตั้งกองทุน EFSF นั้นเป็นมาตรการชั่วคราวในการแก้ปัญหาการขาดวินัยทางการคลังของยุโรป โดยผู้นำยุโรปมีดำริที่จะปฏิรูปโครงสร้างการบริหารเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบ ผ่านกลไก ESM (European Stability Mechanism) ภายในกรกฎาคม 2013 แต่ความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น และการบั่นทอนความเชื่อมั่นต่อการบริหารเศรษฐกิจของยุโรป ทำให้ผู้นำจำต้องเร่งจัดตั้ง ESM ให้เร็วขึ้นอีก 1 ปีคือควรจะจัดตั้งให้เป็นรูปธรรมภายในกรกฎาคม 2012 (อีก 9 เดือนข้างหน้า) โดย ESM จะต้องมีอำนาจในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศที่มีปัญหา ตลอดจนปรับปรุงระบบการควบคุมนโยบายการคลังของประเทศสมาชิก (เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเช่นที่เกิดขึ้นที่กรีซอีก) และกลไกของ ESM จะต้องมีความคล่องตัว กล่าวคือ จะต้องตัดสินใจและออกมาตรการต่างๆ ได้อย่างฉับไว แตกต่างจาก EFSF ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาของทั้ง 17 ประเทศที่เป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร